วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่16 28/09/55

                                  วันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2555

       วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาได้ลองฝึกใช้ความรู้ที่เรียนมา
เกี่ยวกับการวิเคราะห์และนำเสนอความคิดในรูปแบบต่างๆ 
อาจารย์ให้เวลาในการฝึกครั้งนี้ 20 นาที โดยให้หัวข้อเกี่ยว
กับการแจกแท็บเลตแก่เด็ก ป.1 ว่าเรารู้สึกอย่างไร  อาจารย์
ให้เขียนอธิบายความหมาย  บอกข้อดีและข้อจำกัดว่ามีอะไรบ้าง
และดิฉันเองก็เขียนไปแบบ แยกเป็นข้อๆโดยแยกออกเป็นข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีและข้อเสียของแท็บเลต


ข้อดี
-  แท็บเล็ตเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาให้
กับเด็ก ๆ

-  ทำให้ครูสามารถเข้าถึงรูปภาพ วีดิโอคลิป และข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก 
เพื่อใช้สร้างบทเรียนที่น่าสนใจให้แก่นักเรียน ทำให้นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น

-  เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เด็ก ๆ ได้ศึกษาวัฒนธรรมต่างแดนผ่านอินเทอร์เน็ต
ได้ทุกที่ทุกเวลา

-  ใช้เป็นวิดีโอแชทกับชาวต่างชาติเพื่อฝึกภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องเขินอาย
เหมือนกับการสื่อสารต่อหน้าจริง ๆ

-  ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุกและเข้าใจง่ายขึ้น แตกต่างจากการเรียนจาก
หนังสือซึ่งน่าเบื่อและเข้าใจยากกว่า

ข้อเสีย
      อาจมีเด็กจำนวนมากติดอินเทอร์เน็ตถึงขั้นที่ต้องพบจิตแพทย์ ดังที่ปรากฏ
ในประเทศเกาหลีใต้  นอกจากนี้ นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลว่า

-  เด็กจะอยู่คนเดียว เล่นคนเดียว หรือเล่นกับเพื่อนสองสามคน ขาดหรือออก
กำลังกายน้อยลง

-  มีปัญหาเรื่องสายตา  กล่าวคือมีปัญหาด้านสุขภาพ

-  เป็นการปูพื้นฐานให้เด็กคุ้นเคยกับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ทำให้ผลการ
เรียนตกต่ำลง เนื่องจากติดเกมส์

       แต่ในการเขียนใส่กระดาษและส่งให้อาจารย์ไปก็เขียนได้ไม่มากนัก
เพราไม่รู้ความเป็นจริงเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของแท็บแลต 
ดิฉันจึงได้ศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บ โทรทัศน์ครู มีหัวข้อดังต่อไปนี้

                 ตอนที่ 1: Tablet คืออะไร


ตอนที่ 2: Tablet ต่างจาก PC และ Notebook อย่างไร



ตอนที่ 3: ประโยชน์ของ Tablet ด้านการศึกษา



              ตอนที่ 4: วิธีการใช้งาน Tablet



     ตอนที่ 5: สุขอนามัย ในการใช้งาน Tablet

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

โทรทัศน์ครู


โทรทัศน์ครู



                กิจกรรมแก้ปัญหาการไม่พูดและแสดงออก (ระดับปฐมวัย) ครูฐาวดี ทองขะโชค รร.อนุบาลเด่นหล้า

  
สรุปจากการดูโทรทัศน์ครูคือ
        
               เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่จะเริ่มต้นการเรียนรู้แบบรวมกลุ่มกับเพื่อน เด็กบางคนจะกล้าพูด กล้าแสดงออก กล้าพูดคุยกับคนที่ไม่ใช่คนในครอบครัว แต่ก็มีเด็กบางคนที่ไม่กล้าพูดกล้าคุย ไม่กล้าแสดงออก ซึ่งจะเป็นปัญหาได้ในอนาคต ครูฐาวดี ทองขะโชค ครูผู้สอนของโรงเรียนอนุบาลเด่นหล้า จึงคิดนำกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพ และศิลปะการแสดงมาใช้ในการแก้ปัญหา เหล่านี้ โดยกิจกรรมแต่ละอย่างจะใช้ในการแก้ปัญหาที่ต่างกัน เช่น บอลเรียกชื่อ - กิจกรรมนี้จะเป็นละลายความกลัว ของเด็กได้ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดที่นำมาจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางบุคลิกที่ดีขึ้น กล้าพูด กล้าคิด กล้าแสดงออกในที่สุด

เรียนครั้งที่15 21/09/55



วันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2555


   วันนี้อาจารย์จ๋าบอกถึงวิธีการเรียนการสอนนั้นมีหลากหลายแบบซึ่งทุกวิธีสามารถที่จะบรูณาการเข้าด้วยกันได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศ เทคโนโลยี จิตวิทยา เป็นต้น อาจารย์ยังพูดถึงหลักการว่าประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์ ซึ่งต้องกำหนดก่อนเป็นอันดับแรกว่าต้องการทำอะไร เพื่ออะไร ก่อนจะไปขั้นวิเคราะห์ เมื่อเสร็จขั้นนี้ก็จะบอกถึงข้อดี ข้อเสีย แล้วนำเสนอ และสุดท้ายนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ในท้ายช่วงโมงอาจารย์ได้ให้ทำแบบประเมินและลิงค์ Blogger ของนักศึกษาให้อาจารย์







วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่14 14/09/55

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2555



    วันนี้อาจารย์จ๋าให้ออกมานำเสนอนิทานที่แต่ละกลุ่มได้หัวข้อกันไป ซึ่งหัวข้อที่ดิฉันได้ก็คือ การเล่านิทานด้วยเชือก มีชื่อเรื่องว่า กระต่ายเพื่อนเกลอ ซึ่งมีข้อคิดคือ ความสามัคคีจะช่วยให้เรารอดพ้นจากภัยอันตรายได้ และอาจารย์ก็ให้ถ่ายVDO เก็บไว้ด้วย

   เนื้อเรื่องของนิทานกระต่ายน้อยเพื่อนเกลอมีอยู่ว่า.. 









     กาลครั้งหนึ่งนามาแล้วยังมีกระต่ายน้อยห้าตัวเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งนัดกันไปหาอาหารที่ป่าใหญ่ เมื่อเริ่มออกเดินทางเข้าป่าไปไม่นาน ก็เจอกับแครอทมากมายเต็มไปหมด กระต่ายทั้งห้าตื่นเต้นและก็ดีใจมากๆที่จะได้กินแครอท กระต่ายทุกตัวเมื่อเห็นแครอทก็รีบวิ่งเข้าไปกินแครอทอย่างมิทันระมัดระวัง จึงทำให้กระต่ายตัวที่หนึ่งพลาดติดกับดักของนายพราน กระต่ายตัวที่หนึ่งจึงร้องเรียกขอความช่วยเหลือ เมื่อกระต่ายตัวที่สองได้ยิน ก็รีบวิ่งเข้าไปช่วยอย่างไม่ได้ระวัง จึงทำให้กระต่ายตัวที่สองติดกับตักของนายพรานอีก กระต่ายทั้งสองก็ร้องขอความช่วยเหลือ เมื่อกระต่ายตัวที่สามได้ยินก็รีบวิ่งมาช่วยโดยไม่ระมัดระวังอีก จึงทำให้กระต่ายตัวที่สามติดกับดักของนายพรานอีก กระต่ายทั้งสามจึงร้องขอความช่วยเหลืออีก เมื่อกระต่ายตัวที่สี่ได้ยินก็รีบวิ่งมาช่วยอย่างไม่ระวัง จึงทำให้กระต่ายตัวที่สี่ติดกับดักของนายพลานอีก กระต่ายทั้งสี่ก็ร้องๆขอความช่วยเหลืออีก เมื่อกระต่ายตัวที่ห้าได้ยินจึงรีบวิ่งมาช่วยอย่างไม่ระมัดระวังอีกจึงทำให้กระต่ายตัวที่ห้าติดกับดักของนายพรานอีก เมื่อกระต่ายทั้งห้าติดกับของนายพราน ก็พยายามหาทางรอด จนคิดได้ว่าเราต้องช่วยกันแกะเชือก ไม่นานกระต่ายทั้งห้าก็สามารถรอดพ้นจากกับดักของนายพรานได้ ด้วยความสามัคคี.......จบค่ะ


นิทานทั้งหมดที่เพื่อนๆออกมานำเสนอมีดังนี้

เล่าไปฉีกไป
1. ช้าง
2. เจ้าแกะกับดวงอาทิตย์
3. เจ้ากบน้อยแสนซน

เล่าไปวาดไป
1. เจ้าแมวน้อย
2. คุณตากับคุณยาย
3. ความสุขของคุณยาย
4. อาทิตย์ยิ้มแฉ่ง
5. ตุ้งแช่จอมซน

เล่าเกี่ยวกับเชือก
1. กระต่ายเพื่อนเกลอ
2. ครอบครัวแสนสุ
3. ผีเสื้อ
4.เจ้างูน้อยกับเถาวัลย์

เล่าไปตัดไป
1. เบสไปทะเล
2. พระจันทร์ไม่มีเพื่อน

เล่าไปพับไป
1. เจ้าแสนซน
2. พับเป็นนก
3. น้องมดอยากไปเที่ยวทะเล
4. แพวิเศษ
5. ยักษ์วิเศษ


แผนผังความคิดรวบยอด

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่13 07/09/55

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2555


วันนี้อาจารย์จ๋าแจกสีและเพทตัวอักษรและได้พูดถึงครั้งแรกที่เรียนว่ามีอะไรบ้าง


   - ทักษะทางภาษาโดยใช้การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบโดยการตีความทีละหัวข้อ         และการสังเกตดูพฤติกรรมการใช้ภาษาของเด็ก 

  
   - การจับใจความ การสรุปความคิด การตั้งคำถามกับเด็กโดยใช้นิทานและเพลงเข้าช่วย 
  
   - การจัดประสบการณ์โดยใช้สื่อในการสอนเด็ก เช่น นิทาน เพลง เกม ปริศนาคำทาย คำคล้องจอง
   
   - มุมประสบการณ์ทางภาษาที่จัดไว้สำหรับเด็ก โดยส่งเสริมการฟัง พูด อ่าน และเขียนของเด็ก เช่น นิทาน(การอ่าน) เทปเพลง(การฟัง) กระดานเขียน(การเขียน) หุ่นนิ้วมือ(การพูด)


การบูรณาการใขชีวิตประจำวันเรื่องของภาษา

   - ทักทาย เซนชื่อหรือเขียนชื่อ แนะนำกิจกรรม   


   - กิจกรรมเคลื่อนไหว คือการเต้นประกอบเพลง พูดชื่อและทำท่าทางตามชื่อของตนเอง
   
   - กิจกรรมศิลปะ คือการวาดภาพเป็นสัญลักษณ์ เขียนบรรยายใต้ภาพ นำภาพมาต่อเป็นเรื่องราว   

   - กิจกรรมกลางแจ้ง คือการรู้จักกฎกติกาในการเล่น 

   - กิจกรรมเกมการศึกษา คือพวกเกม จิ๊กซอว์ โดมิโน จับคู่ เรียงลำดับเหตุการณ์ อนุกรม อุปมาอุปไมย

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่12 31/08/55

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2555


  ในสัปดาห์นี้ดิฉันได้เอางานปฏิทินมาส่งอาจารย์คือ กลุ่มอักษรเสียงสูง และสระ แอะ - แอ 












อาจารย์จ๋าให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอเพลงที่สั่งไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยอาจารย์ถ่าย VDO ไว้ขณะที่เรานำเสนองานและกลุ่มของดิฉันก็ออกมานำเสนอเพลง โอ๊ะ โอ!! ตื่นเถอะนะ


เนื้อเพลง โอ๊ะ โอ ตื่นเถอะนะ!!


โอ๊ะ โอ โอ ตื่นเถอะ ตื่นเถอะนะ

ตื่นเถอะนะ ตื่นเถอะเด็กดี

โอ๊ะ โอ โอ ตื่นเถอะ ตื่นเถอะนะ 

ตื่นเถอะนะ ตื่นเถอะเด็กดี

เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วยิ้มเถอะนะ 

ยิ้มเถอะนะ ยิ้มเถอะเด็กดี

โอ๊ะ โอ โอ  ยิ้มเถอะยิ้มเถอะนะ 

ยิ้มเถอะนะ ยิ้มเถอะเด็กดี 







และอาจารย์จ๋าก็ให้เพื่อนที่อยู่กลุ่มปฏิทินด้วยกันช่วยกันแต่งคำขวัญ ชวนเลิกเหล้า มีดังนี้


1) กลุ่มอักษรกลาง สระอา พ่อจ๋าเลิกเหล้าเลิกจน ครอบครัวเป็นสุข

2) กลุ่มอักษรสูง สระอี ดูสิ!! เลิกเหล้าชีวิตสดใส ครอบครัวเป็นสุข

3) กลุ่มอักษรต่ำ สะแอะ ดูสิ!!กินเหล้าแล้วเมา กินข้าวดีกว่า

4) กลุ่มอักษรกลาง สระอิอี กอดเหล้ามันแย่ กอดแม่ดีกว่า


5) กลุ่มอักษรต่ำ สระอา หยุดดื่มหยุดเมา ทุกข์เราจะไม่มี

6) กลุ่มอักษรต่ำ สระโอะโอ คุณค่ะ!! กีฬาสร้างชีวิต เหล้าเบียร์สร้างปัญห

7) กลุ่มอักษรกลาง สระอุอู พี่พี่!! เลิกเหล้าวันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีในวันข้างหน้า

8) กลุ่มอักษรกลาง สระแอะเอ ผัวขา!! เลิกเหล้าเพื่อครอบครัว ดีกว่าเสียตัวไปมัวเมา

9) กลุ่มอักษรสูง สระอะอา เลิกเหล้า เลิกจน

10) กลุ่มอักษร สระ - START ลด ละ เลิกเหล้า เพื่อเราเพื่อชาติ

11) กลุ่มอักษร สระ -แอะ แอ  ที่รักจ๊ะ ถ้ารักตัวเองเพื่อรักของเรา เลิกเหล้าเถอะนะ

12) กลุ่มอักษรกลาง สระโอะโอ คอนเฟริม!! เลิกเหล้าเข้าใจชีวิต มวลมิตรจะสุขใจ

13) กลุ่มอักษรสูง สระอุอู ฟันธง!! เลิกเหล้า แล้วชีวิตจะพ้นจากโรคภัย


14) กลุ่มอักษรสูง สระโอะโอ (2) เลิกเหล้ากันเถอะ

15) กลุ่มอักษรกลาง สระเอะอา คุณแม่!! ขอร้องโตมาด้วยน้ำนมแม่อย่าให้มันแย่เพราะน้ำเมา

16) กลุ่มอักษรต่ำ สระอุอู ดื่มเหล้าตับแข็ง เสียทั้งแรงเสียทั้งเงิน



วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่11 24/08/55

                                                        วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2555


    วันนี้อาจารย์ให้ฟังเพลงเกาะสมุย แล้ววิเคราะห์ว่าในเพลงสื่อถึงอะไร 

- วัตถุประสงค์ของเพลงคืออะไร

- ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร 

  สรุปจากการฟัง

- รู้สึกว่าเพลงนี้ให้ความสนุกเพลิดเพลิน ชวนให้ไปเที้ยว 

- มีวัตถุประสงค์ คือเชิญชวนให้ไปเที้ยวเกาะสมุย 

- เมื่อฟังแล้วรู้สึก อยากจะไปเที้ยวที่เกาะสมุย
 




เพลงเกาะสมุย


     อาจารย์ยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช่วรรณกรรมเป็นพื้นฐาน อาจารย์ก็ยกตัวอย่างนิทานเรื่อง ช้างน้อยอัลเฟรด

เรื่องย่อ   อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมากอัลเฟรดรู้สึกอายที่ตนเองมีงวงยาวกว่าช้างตัว อื่นๆ จึงพยายามซ่อนงวงของตนวันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของ เด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดได้ใช้งวงช่วยเด็กผู้หญิงลงมา สัตว์อื่นๆ พากันชื่นชมอัลเฟรด ตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนเองจะไม่เหมือนใคร


แนวคิดสำคัญคือ
- แม้ว่าเด็กจะมีความแตกต่างจากคนอื่น เด็กๆก็สามารถอยู่อย่างมีความสุขได้
- การช่วยเหลือคนอื่นเป็นสิ่งที่เด็กควรปฏิบัติอยู่เสมอ
- เด็กรู้จักขอบคุณ เมื่อได้รับความช่วยเหลือ

กิจกรรมที่ครูสามารถสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมด้านภาษา

      อาจารย์พูดถึงการเล่านิทานให้เด็กฟัง เมื่อครูเล่าจบ แล้วบอกให้เด็กออกมาเล่าเรื่อง จะส่งเสริมความสามารถในการจับใจความจากการดูภาพและฟังเรื่องราง ฝึกให้เด็กรู้จักคาดคะเน ตีความ และจับใจความสำคัญของเรื่อง แล้วกลั่นกรองถ่ายทอดออกมาตามความเข้าใจของเด็ก โดยใช้การเล่าเรื่องเป็นการสื่อสาร ซึ่งเป็นการส่งเสริมการใช้ภาษาของเด็ก   เราจะต้องจัดกิจกรรมต่างๆให้เด็กเกิดการเรียนรู้ หรือประสบการณ์ซึ่งสามารถจัดได้ดังนี้คือ

    - ทำเกมการศึกษา - lotto,แกนด์,ภาพอนุกรม,เกมอุปมาอุปไมย- การเล่นเครื่องเล่น ก็จะเชื่อมโยงมาจากการฟังนิทาน เช่น การช่วยเพื่อนลงมาจากกระดานลื่

    - กิจกรรมเข้าจังหวะ ครูอาจจะให้เด็กเต้นประกอบเพลงช้าง

    - หรือจะพาไปทัศนศึกษา ไปดูช้างของจริงที่สวนสัตว์ก็ได้ 

***งานที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์นี้คือ   ให้นักศึกษาจับกลุ่มแล้วช่วยกันแต่งเพลง แล้วออกมาร้องเพลง และเต้นทำท่าประกอบเพลง และใหทำเนื้อเพลงใส่ power point มาด้วย พร้อมออกมานำเสนอในสัปดาห์หน้า   ใหนักศึกษา ออกไปจับฉลากเพื่อได้หัวข้อในการเล่านิทาน ซึ่งกลุ่มของดิฉันก็จับได้เกี่ยวกับการเล่านิทานด้วยเชือก


วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่10 19/08/55

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2555 (เรียนชดเชย)
  


กิจกรรมที่ได้ทำในห้องในวันนี้คือ   อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนหาสิ่งของที่ติดตัวเลือกมาหนึ่งชิ้นที่นักศึกษาชอบมากที่สุดแล้วบอกเหตุผลว่าทำไมถึงชอบ ดิฉันได้หยิบพัดอันโปรดขึ้นมาและบอกเหตุผลไปว่า พัดเป็นสิ่งที่ดิฉันชอบมากเพราะดิฉันเป็นคนขี้ร้อน พัดจึงมีความสำคัญกับดิฉัน เพราะเมื่อเวลาเราร้อพัดสามารถช่วยให้เราเย็นขึ้นได้ 



พัดอันโปรด

       ต่อมาอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนหาสิ่งของที่ติดตัวหรือมีอยู่เลือกมาหนึ่งชิ้น ชิ้นที่ชอบที่สุดแล้วให้นักศึกษาโฆษนาของชิ้นนั้น   ดิฉันหยิบผ้าอเนกประสงค์ขึ้นมาและบอกสรรพคุณของผ้าผืนนี้ว่า ผ้าอเนกประสงค์สามารถช่วยดิฉันได้ในหลายๆด้าน ด้านแรกเมื่อเราอยากจะสวย เราสามารถประยุกต์ผ้าให้เป็นริบบิ้นผูกผมได้ ด้านที่สองเมื่ออากาศร้อนและเราเหงือแตก เอราก็สามารถนำผ้านี้ประยุกต์เป็นผ้าเช็ดหน้าได้ ด้านที่สามเมื่อเรารู้สึกว่าอากาศหนาว เราสามารถประยุกต์ผ้าให้เป็นผ้าพันคอก็ได้ ดูแล้วผ้าผืนนี้ของดิฉันมันมีประโยชน์มากๆเลยละค่ะ ^^


ผ้าเอนกประสงค์

       ต่อมาอาจารย์ก็ให้นักศึกษาวาดภาพแทนคำอธิบาย  ดิฉันก็วาดภาพ รถ + ไฟ + ฟ้า = รถไฟฟ้า


รถ+ไฟ+ฟ้า = รถไฟฟ้า

  ต่อมาอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละคนวาดภาพตามใจชอบ แล้วให้นักศึกษาแต่ละแถวออกมาหน้าชั้นเรียนแล้วอธิบายรูปที่วาดให้เป็นเรื่องราวให้สมบูรณ์ที่สุด ดิฉันก็ได้วาดรูปหุ่นยนต์กำลังอาปากหวอ ด้วยความดีใจ  และแถวของดิฉันก็ออกไปเล่าเรื่องราวตามภาพที่เรียงกันโดยมีเนื่อเรื่องว่า ตื่นแต่เช้าหัวใจฉันเบิกบาน พระอาทิตย์ส่องแสง ฉันเลยนั่งจิบกาแฟ โอ้โห! กาแฟอร่อยจัง ฉันมองไปที่ตู้ปลา และมองไปที่ดอกไม้ อย่างมีความสุข ^^


หุ่นยนต์อ้าปากหวอ!!!

   ต่อมาอาจารย์ก็แบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ๆ โดยให้นักศึกษากลุ่มหนึ่งเป็นฝ่ายอ่านข่าว อีกกลุ่มหนึ่งเป็นประชาสัมพันธ์
   และหลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาบอกชื่อตัวเองพร้อมทำท่าประกอบ หลังจากนั้นให้นักศึกษาบอกชื่อเพื่อนทางขวามือแล้วทำท่าประกอบของเพื่อน


**หลังจากเรียนเสร็จอาจารย์จ๋าได้สั่่่งให้อาทิตย์หน้านั้นนำงานที่ได้สั่งให้ทำนั้นก็คือ ปฏิทินสื่อการเรียนการสอน มาส่ง ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้อักษรเสียงต่ำ และสระ แอะ แอ

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่10 17/08/55

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2555


  ในวันนี้งดการเรียนการสอน และอาจารย์ก็ได้นัดให้มาเรียนเพิ่มเติมในวันที่ 19 สิงหาคม 2555 ตั้งแต่เวลา 13.00น. นัดเรียนที่ห้อง 223

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่9 10/08/55

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม 2555


  วันนี้อาจารย์ได้สั่งงานโดยให้เอาปฏิทินตั้งโต๊ะที่ไม่ได้ใช้งานแล้วมาประยุกต์ทำสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้รู้จักการนำของเก่ากลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ และใช้ตัวอักษรไทย 

ได้แก่

อักษรสูง     : ง  ญ  น  ย  ร  ว  ม  ล   
อักษรกลาง : ก  จ  ด  ต  บ  ป  
อักษรต่ำ     : ศ ฐ  ข  ส  ฝ  ถ  ผ  ห   ฉ
สระ : อะ   อา/อิ  อี/อุ  อู/เอะ  เอ/แอะ  แอ/โอะ  โอ

โดยจับกลุ่ม 3 คน แล้วออกไปจับฉลาก ส่งอาทิตย์ต่อไป

ปฏิทินตั้งโต๊ะจ้า


อักษรสามหมู่


สระ ต่างๆ

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่8 03/08/55

 วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2555


  วันนี้เป็นวันพระใหญ่เพราะเป็นวันเข้าพรรษา จึงงดการเรียนการสอน เพราะเป็นวันหยุดราชการ

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่7 27/07/55


                                                     วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม 2555


  ในสัปดาห์นี้อาจารย์จ๋าติดธุระ จึงมอบหมายให้อาจารย์บาสมาสอนแทน อาจาร์บาสให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอรายงานทีไปเล่นนิทานให้เด็กฟังตั้งแต่สัปดาห์ทีแล้ว และให้นำเสนอการสังเกตพฤติกรรมของเด็กขณะฟังนิทาน เมื่อเพื่อนๆรายงายหน้าชั้นเรียนเสร็จจากนั้นอาจารย์บาสก็ได้สรุปกิจกรรมที่ให้ไปทำ พร้อมกับติชมแนะนำแก้ปรับปรุ่งให้กับนักศึกษาบางกลุ่มว่าควรแก้ไขอะไรบ้าง




วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เรียนครังที่6 20/07/55

                                                          วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม 2555


  
  อาจารย์จ๋าสั่งให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม เพื่อออกมาจับฉลากเลือกแนวการเล่านิทาน ให้จับกลุ่มเดิมซึ้งทั้งหมดจะมีอยู่ 11 กลุ่มดังนี้

-นิทานเล่มเล็กจะมีอยู่ 4 กลุ่ม คือ อนุบาล1 อนุบาล2 อนุบาล3 และชั้นประถม1
-นิทานเล่มใหญ่จะมีอยู่ 4 กลุ่ม คือ อนุบาล1 อนุบาล2 อนุบาล3 และชั้นประถม1
-และให้น้องๆดูวิดีโอนิทาน จะมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ อนุบาล1 อนุบาล2 และอนุบาล3

    อาจารย์จ๋าให้แต่ละกลุ่มไปเล่านิทานตามที่ตนจับฉลากได้ให้น้องๆอยู่ในโรงเรียนสาธิตฟัง จากนั้นให้สังเกตุพฤติกรรม และให้จดบันทึกอย่างระเอียดเกี่ยวกับลักษณะท่าทางการแสดงออกทางภาษาของเด็ก และเมื่อเล่าจบให้ลองถามเด็กเกี่ยวกับนิทานที่เล่าให้ฟังเพื่อที่เราจะดูพัฒนาการของเด็ก หรือขณะที่เล่าอาจจะให้เด็กๆมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และนำผลที่ได้มาเสนอในสัปดาห์ต่อไป  โดยกลุ่มของดิฉันได้ นิทานเล่มใหญ่ (Big Book)โดยเล่าให้น้องอนุบาล 2 ฟัง 

ขณะที่เล่านิทานให้น้องๆฟั

- น้องๆตั้งใจฟังเป็นอย่างมาก
- ฟังโดยไม่พูดคุยกัน
- เมื่อน้องๆเห็นตัวละครในเรื่องที่เป็นมด น้องบางคนก็จะชี้ไปที่รูป แล้วพูดขึ้นวา "มด"

เมื่อเล่าจบได้ถามความคิดเห็นของน้องๆ น้องๆให้ความคิดเห็นว่า

- อยากเป็นคนขยันเหมือนมดดำเพราะจะได้มีกินไม่อดตาย
- ไม่อยากขี้เกียจเหมือนมดแดงเพราะไม่อยากอดตาย

นิทานเรื่่อง มดน้อยอดออม

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่5 13/07/55



วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2555


  สัปดาห์นี้อาจารย์จ๋าให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานที่ทำมา 
เป็นงานที่อาจารย์มอบหมายให้ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ทั้งหมดมีอยู่ 5 กลุ่ม ดังนี้
 กลุ่มที่ 1 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 4 ขวบ
 กลุ่มที่ 2 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 3 ขวบ
 กลุ่มที่ 3 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 2 ขวบ
 กลุ่มที่ 4 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 6 ขวบ 
 กลุ่มที่ 5 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 9-11 ขวบ
โดยกลุ่มของดิฉันได้ออกมารายงานเรื่อง พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 2 ขวบ


สรุปแผนผังความคิดรวบยอด


นำเสนองานเรื่อง พัฒนาการของเด็ก 2 ขวบ


ตัวอย่าง วิดิโอบางส่วนของการนำเสนอ

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่4 06/07/55

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม 2555

  วันนีงดการเรียนการสอน เพราะอาจารย์จ๋าให้ทุกกลุ่มเอางานที่จะนำเสนอในอาทิตย์นี้กลับไปทำมาใหม่ให้เรียบร้อย โดยจะต้องทำงานของตนให้มีความน่าสนใจ ให้คิดว่าจะทำยังไงเพื่อนๆถึงจะสนใจงานของเราที่ทำมา และต้องทำออกมาไม่ให้งานนั้นดูไม่น่าเบื่อ และมีวิธีเสนองานที่แปลกใหม่ และในสัปดาห์หน้าจะให้นักษาทุกกลุ่มออกมารายงานใหม่

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่3 29/06/55

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน 2555

  วันนี้งดการเรียนการสอน อ.จ๋าสั่งงานให้นักศึกษาไปค้นคว้ารายละเอียดของงานในหัวข้อที่ได้รับมอบหมายมาทำรายเป็นรายงาน โดยให้คิดวิธีในการนำเสนอด้วยตนเองตามความสามารถและความถนัดของแต่ละกลุ่ม และให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมารายงานในสัปดาห์ต่อไป

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่2 22/06/55

วันศุกร์ที่12 มิถุนายน 2555


  วันนี้อาจารย์จ๋า อธิบายเกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการและภาษา โดยให้ความหมายของพัฒนาการ หมายถึง การเลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นไปตามลำดับขั้นตอน และสติปัญญาจะช่วยในเรื่องของความคิดและภาษา ซึ่งภาษาเป็นเครื่องมือแห่งการเรียนรู้ และได้ยกทฤษฎีทางสติปัญญาของนักทฤษฎีอีกหลายคน เช่น เพียเจย์ บรูเนอร์ ไวกอสกี้ เป็นต้น และอธิบายอีกว่า สมองทำงานโดย ซึมซับ รับรู้ เมื่อประสบการณ์เดิมไปพบกับสิ่งใหม่ ก็จะกลายเป็นประสบการณ์ใหม่
เด็กแรกเกิด - 2ปี จะเกิดเซนเซอรีมอเตอร์ คือ จะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กรทำต่อวัตถุ เช่นตาดู หูฟัง และการเล่น (อย่างอิสระ) ในการเรียนรู้
เด็ก 2-4 ปี จะเริ่มใช้ภาษา แต่จะเป็นประโยคสั้นๆ  เด็ก 4-6 ปี จะเริ่มใช้ภาษาที่ยากขึ้น
การจัดประสบการณ์จะมีอยู่ 4 ขั้นตอน คือ 
1.หลักการ 
2.เทคนิค (การสอน,ร้องเพลง,เล่านิทาน)
3.สื่อและสภาพแวดล้อม 
4.ประเมินผล (สังเกต,ซักถาม)
และภาษามี 4 ภาษาคือ ฟัง พูด อ่าน เขียน ค่ะ เพื่อนๆในห้องต่างสนใจฟัง และให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และอาจารย์จ๋าก็ให้แบ่งทำงานกลุ่มค่ะ งานกลุ่มดิฉันที่ได้คือ พํฒนาการทางภาษาของเด็ก  2 ขวบค่ะ

แผนผังความคิดรวบยอด

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่1 15/06/55

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน 2555


  วันนี้เข้าเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นวันแรกตื่นเต้นมากๆเลยล่ะ ^^เรียนในห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ตึกคณะศึกษาศาสตร์ สอนโดย อ.จินตนา ตื่นเต้นอีกเหมือนกัน ได้เรียนกับอ.เป็นครั้งแรกในการเรียนครั้งนี้อ.ให้ทำ Blogger เป็นของตัวเอง และก็สอนให้แต่ง Blogger แบบง่ายๆก่อนสนุกมากเพื่อนๆก็ต่างตื่นตัวในการทำ  Blogger แต่เสียดายที่อินเตอร์เน็ตที่ตึกคณะช้าเกินไป เพื่อนๆมีอารมณ์เสียบ้าง แถมแอร์ยังแอบเย็นๆอีก _ _ *