วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่16 28/09/55

                                  วันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2555

       วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาได้ลองฝึกใช้ความรู้ที่เรียนมา
เกี่ยวกับการวิเคราะห์และนำเสนอความคิดในรูปแบบต่างๆ 
อาจารย์ให้เวลาในการฝึกครั้งนี้ 20 นาที โดยให้หัวข้อเกี่ยว
กับการแจกแท็บเลตแก่เด็ก ป.1 ว่าเรารู้สึกอย่างไร  อาจารย์
ให้เขียนอธิบายความหมาย  บอกข้อดีและข้อจำกัดว่ามีอะไรบ้าง
และดิฉันเองก็เขียนไปแบบ แยกเป็นข้อๆโดยแยกออกเป็นข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีและข้อเสียของแท็บเลต


ข้อดี
-  แท็บเล็ตเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาให้
กับเด็ก ๆ

-  ทำให้ครูสามารถเข้าถึงรูปภาพ วีดิโอคลิป และข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก 
เพื่อใช้สร้างบทเรียนที่น่าสนใจให้แก่นักเรียน ทำให้นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น

-  เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เด็ก ๆ ได้ศึกษาวัฒนธรรมต่างแดนผ่านอินเทอร์เน็ต
ได้ทุกที่ทุกเวลา

-  ใช้เป็นวิดีโอแชทกับชาวต่างชาติเพื่อฝึกภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องเขินอาย
เหมือนกับการสื่อสารต่อหน้าจริง ๆ

-  ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุกและเข้าใจง่ายขึ้น แตกต่างจากการเรียนจาก
หนังสือซึ่งน่าเบื่อและเข้าใจยากกว่า

ข้อเสีย
      อาจมีเด็กจำนวนมากติดอินเทอร์เน็ตถึงขั้นที่ต้องพบจิตแพทย์ ดังที่ปรากฏ
ในประเทศเกาหลีใต้  นอกจากนี้ นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลว่า

-  เด็กจะอยู่คนเดียว เล่นคนเดียว หรือเล่นกับเพื่อนสองสามคน ขาดหรือออก
กำลังกายน้อยลง

-  มีปัญหาเรื่องสายตา  กล่าวคือมีปัญหาด้านสุขภาพ

-  เป็นการปูพื้นฐานให้เด็กคุ้นเคยกับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ทำให้ผลการ
เรียนตกต่ำลง เนื่องจากติดเกมส์

       แต่ในการเขียนใส่กระดาษและส่งให้อาจารย์ไปก็เขียนได้ไม่มากนัก
เพราไม่รู้ความเป็นจริงเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของแท็บแลต 
ดิฉันจึงได้ศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บ โทรทัศน์ครู มีหัวข้อดังต่อไปนี้

                 ตอนที่ 1: Tablet คืออะไร


ตอนที่ 2: Tablet ต่างจาก PC และ Notebook อย่างไร



ตอนที่ 3: ประโยชน์ของ Tablet ด้านการศึกษา



              ตอนที่ 4: วิธีการใช้งาน Tablet



     ตอนที่ 5: สุขอนามัย ในการใช้งาน Tablet

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

โทรทัศน์ครู


โทรทัศน์ครู



                กิจกรรมแก้ปัญหาการไม่พูดและแสดงออก (ระดับปฐมวัย) ครูฐาวดี ทองขะโชค รร.อนุบาลเด่นหล้า

  
สรุปจากการดูโทรทัศน์ครูคือ
        
               เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่จะเริ่มต้นการเรียนรู้แบบรวมกลุ่มกับเพื่อน เด็กบางคนจะกล้าพูด กล้าแสดงออก กล้าพูดคุยกับคนที่ไม่ใช่คนในครอบครัว แต่ก็มีเด็กบางคนที่ไม่กล้าพูดกล้าคุย ไม่กล้าแสดงออก ซึ่งจะเป็นปัญหาได้ในอนาคต ครูฐาวดี ทองขะโชค ครูผู้สอนของโรงเรียนอนุบาลเด่นหล้า จึงคิดนำกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพ และศิลปะการแสดงมาใช้ในการแก้ปัญหา เหล่านี้ โดยกิจกรรมแต่ละอย่างจะใช้ในการแก้ปัญหาที่ต่างกัน เช่น บอลเรียกชื่อ - กิจกรรมนี้จะเป็นละลายความกลัว ของเด็กได้ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดที่นำมาจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางบุคลิกที่ดีขึ้น กล้าพูด กล้าคิด กล้าแสดงออกในที่สุด

เรียนครั้งที่15 21/09/55



วันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2555


   วันนี้อาจารย์จ๋าบอกถึงวิธีการเรียนการสอนนั้นมีหลากหลายแบบซึ่งทุกวิธีสามารถที่จะบรูณาการเข้าด้วยกันได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศ เทคโนโลยี จิตวิทยา เป็นต้น อาจารย์ยังพูดถึงหลักการว่าประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์ ซึ่งต้องกำหนดก่อนเป็นอันดับแรกว่าต้องการทำอะไร เพื่ออะไร ก่อนจะไปขั้นวิเคราะห์ เมื่อเสร็จขั้นนี้ก็จะบอกถึงข้อดี ข้อเสีย แล้วนำเสนอ และสุดท้ายนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ในท้ายช่วงโมงอาจารย์ได้ให้ทำแบบประเมินและลิงค์ Blogger ของนักศึกษาให้อาจารย์







วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่14 14/09/55

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2555



    วันนี้อาจารย์จ๋าให้ออกมานำเสนอนิทานที่แต่ละกลุ่มได้หัวข้อกันไป ซึ่งหัวข้อที่ดิฉันได้ก็คือ การเล่านิทานด้วยเชือก มีชื่อเรื่องว่า กระต่ายเพื่อนเกลอ ซึ่งมีข้อคิดคือ ความสามัคคีจะช่วยให้เรารอดพ้นจากภัยอันตรายได้ และอาจารย์ก็ให้ถ่ายVDO เก็บไว้ด้วย

   เนื้อเรื่องของนิทานกระต่ายน้อยเพื่อนเกลอมีอยู่ว่า.. 









     กาลครั้งหนึ่งนามาแล้วยังมีกระต่ายน้อยห้าตัวเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งนัดกันไปหาอาหารที่ป่าใหญ่ เมื่อเริ่มออกเดินทางเข้าป่าไปไม่นาน ก็เจอกับแครอทมากมายเต็มไปหมด กระต่ายทั้งห้าตื่นเต้นและก็ดีใจมากๆที่จะได้กินแครอท กระต่ายทุกตัวเมื่อเห็นแครอทก็รีบวิ่งเข้าไปกินแครอทอย่างมิทันระมัดระวัง จึงทำให้กระต่ายตัวที่หนึ่งพลาดติดกับดักของนายพราน กระต่ายตัวที่หนึ่งจึงร้องเรียกขอความช่วยเหลือ เมื่อกระต่ายตัวที่สองได้ยิน ก็รีบวิ่งเข้าไปช่วยอย่างไม่ได้ระวัง จึงทำให้กระต่ายตัวที่สองติดกับตักของนายพรานอีก กระต่ายทั้งสองก็ร้องขอความช่วยเหลือ เมื่อกระต่ายตัวที่สามได้ยินก็รีบวิ่งมาช่วยโดยไม่ระมัดระวังอีก จึงทำให้กระต่ายตัวที่สามติดกับดักของนายพรานอีก กระต่ายทั้งสามจึงร้องขอความช่วยเหลืออีก เมื่อกระต่ายตัวที่สี่ได้ยินก็รีบวิ่งมาช่วยอย่างไม่ระวัง จึงทำให้กระต่ายตัวที่สี่ติดกับดักของนายพลานอีก กระต่ายทั้งสี่ก็ร้องๆขอความช่วยเหลืออีก เมื่อกระต่ายตัวที่ห้าได้ยินจึงรีบวิ่งมาช่วยอย่างไม่ระมัดระวังอีกจึงทำให้กระต่ายตัวที่ห้าติดกับดักของนายพรานอีก เมื่อกระต่ายทั้งห้าติดกับของนายพราน ก็พยายามหาทางรอด จนคิดได้ว่าเราต้องช่วยกันแกะเชือก ไม่นานกระต่ายทั้งห้าก็สามารถรอดพ้นจากกับดักของนายพรานได้ ด้วยความสามัคคี.......จบค่ะ


นิทานทั้งหมดที่เพื่อนๆออกมานำเสนอมีดังนี้

เล่าไปฉีกไป
1. ช้าง
2. เจ้าแกะกับดวงอาทิตย์
3. เจ้ากบน้อยแสนซน

เล่าไปวาดไป
1. เจ้าแมวน้อย
2. คุณตากับคุณยาย
3. ความสุขของคุณยาย
4. อาทิตย์ยิ้มแฉ่ง
5. ตุ้งแช่จอมซน

เล่าเกี่ยวกับเชือก
1. กระต่ายเพื่อนเกลอ
2. ครอบครัวแสนสุ
3. ผีเสื้อ
4.เจ้างูน้อยกับเถาวัลย์

เล่าไปตัดไป
1. เบสไปทะเล
2. พระจันทร์ไม่มีเพื่อน

เล่าไปพับไป
1. เจ้าแสนซน
2. พับเป็นนก
3. น้องมดอยากไปเที่ยวทะเล
4. แพวิเศษ
5. ยักษ์วิเศษ


แผนผังความคิดรวบยอด

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่13 07/09/55

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2555


วันนี้อาจารย์จ๋าแจกสีและเพทตัวอักษรและได้พูดถึงครั้งแรกที่เรียนว่ามีอะไรบ้าง


   - ทักษะทางภาษาโดยใช้การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบโดยการตีความทีละหัวข้อ         และการสังเกตดูพฤติกรรมการใช้ภาษาของเด็ก 

  
   - การจับใจความ การสรุปความคิด การตั้งคำถามกับเด็กโดยใช้นิทานและเพลงเข้าช่วย 
  
   - การจัดประสบการณ์โดยใช้สื่อในการสอนเด็ก เช่น นิทาน เพลง เกม ปริศนาคำทาย คำคล้องจอง
   
   - มุมประสบการณ์ทางภาษาที่จัดไว้สำหรับเด็ก โดยส่งเสริมการฟัง พูด อ่าน และเขียนของเด็ก เช่น นิทาน(การอ่าน) เทปเพลง(การฟัง) กระดานเขียน(การเขียน) หุ่นนิ้วมือ(การพูด)


การบูรณาการใขชีวิตประจำวันเรื่องของภาษา

   - ทักทาย เซนชื่อหรือเขียนชื่อ แนะนำกิจกรรม   


   - กิจกรรมเคลื่อนไหว คือการเต้นประกอบเพลง พูดชื่อและทำท่าทางตามชื่อของตนเอง
   
   - กิจกรรมศิลปะ คือการวาดภาพเป็นสัญลักษณ์ เขียนบรรยายใต้ภาพ นำภาพมาต่อเป็นเรื่องราว   

   - กิจกรรมกลางแจ้ง คือการรู้จักกฎกติกาในการเล่น 

   - กิจกรรมเกมการศึกษา คือพวกเกม จิ๊กซอว์ โดมิโน จับคู่ เรียงลำดับเหตุการณ์ อนุกรม อุปมาอุปไมย

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่12 31/08/55

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2555


  ในสัปดาห์นี้ดิฉันได้เอางานปฏิทินมาส่งอาจารย์คือ กลุ่มอักษรเสียงสูง และสระ แอะ - แอ 












อาจารย์จ๋าให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอเพลงที่สั่งไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยอาจารย์ถ่าย VDO ไว้ขณะที่เรานำเสนองานและกลุ่มของดิฉันก็ออกมานำเสนอเพลง โอ๊ะ โอ!! ตื่นเถอะนะ


เนื้อเพลง โอ๊ะ โอ ตื่นเถอะนะ!!


โอ๊ะ โอ โอ ตื่นเถอะ ตื่นเถอะนะ

ตื่นเถอะนะ ตื่นเถอะเด็กดี

โอ๊ะ โอ โอ ตื่นเถอะ ตื่นเถอะนะ 

ตื่นเถอะนะ ตื่นเถอะเด็กดี

เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วยิ้มเถอะนะ 

ยิ้มเถอะนะ ยิ้มเถอะเด็กดี

โอ๊ะ โอ โอ  ยิ้มเถอะยิ้มเถอะนะ 

ยิ้มเถอะนะ ยิ้มเถอะเด็กดี 







และอาจารย์จ๋าก็ให้เพื่อนที่อยู่กลุ่มปฏิทินด้วยกันช่วยกันแต่งคำขวัญ ชวนเลิกเหล้า มีดังนี้


1) กลุ่มอักษรกลาง สระอา พ่อจ๋าเลิกเหล้าเลิกจน ครอบครัวเป็นสุข

2) กลุ่มอักษรสูง สระอี ดูสิ!! เลิกเหล้าชีวิตสดใส ครอบครัวเป็นสุข

3) กลุ่มอักษรต่ำ สะแอะ ดูสิ!!กินเหล้าแล้วเมา กินข้าวดีกว่า

4) กลุ่มอักษรกลาง สระอิอี กอดเหล้ามันแย่ กอดแม่ดีกว่า


5) กลุ่มอักษรต่ำ สระอา หยุดดื่มหยุดเมา ทุกข์เราจะไม่มี

6) กลุ่มอักษรต่ำ สระโอะโอ คุณค่ะ!! กีฬาสร้างชีวิต เหล้าเบียร์สร้างปัญห

7) กลุ่มอักษรกลาง สระอุอู พี่พี่!! เลิกเหล้าวันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีในวันข้างหน้า

8) กลุ่มอักษรกลาง สระแอะเอ ผัวขา!! เลิกเหล้าเพื่อครอบครัว ดีกว่าเสียตัวไปมัวเมา

9) กลุ่มอักษรสูง สระอะอา เลิกเหล้า เลิกจน

10) กลุ่มอักษร สระ - START ลด ละ เลิกเหล้า เพื่อเราเพื่อชาติ

11) กลุ่มอักษร สระ -แอะ แอ  ที่รักจ๊ะ ถ้ารักตัวเองเพื่อรักของเรา เลิกเหล้าเถอะนะ

12) กลุ่มอักษรกลาง สระโอะโอ คอนเฟริม!! เลิกเหล้าเข้าใจชีวิต มวลมิตรจะสุขใจ

13) กลุ่มอักษรสูง สระอุอู ฟันธง!! เลิกเหล้า แล้วชีวิตจะพ้นจากโรคภัย


14) กลุ่มอักษรสูง สระโอะโอ (2) เลิกเหล้ากันเถอะ

15) กลุ่มอักษรกลาง สระเอะอา คุณแม่!! ขอร้องโตมาด้วยน้ำนมแม่อย่าให้มันแย่เพราะน้ำเมา

16) กลุ่มอักษรต่ำ สระอุอู ดื่มเหล้าตับแข็ง เสียทั้งแรงเสียทั้งเงิน



วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่11 24/08/55

                                                        วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2555


    วันนี้อาจารย์ให้ฟังเพลงเกาะสมุย แล้ววิเคราะห์ว่าในเพลงสื่อถึงอะไร 

- วัตถุประสงค์ของเพลงคืออะไร

- ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร 

  สรุปจากการฟัง

- รู้สึกว่าเพลงนี้ให้ความสนุกเพลิดเพลิน ชวนให้ไปเที้ยว 

- มีวัตถุประสงค์ คือเชิญชวนให้ไปเที้ยวเกาะสมุย 

- เมื่อฟังแล้วรู้สึก อยากจะไปเที้ยวที่เกาะสมุย
 




เพลงเกาะสมุย


     อาจารย์ยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช่วรรณกรรมเป็นพื้นฐาน อาจารย์ก็ยกตัวอย่างนิทานเรื่อง ช้างน้อยอัลเฟรด

เรื่องย่อ   อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมากอัลเฟรดรู้สึกอายที่ตนเองมีงวงยาวกว่าช้างตัว อื่นๆ จึงพยายามซ่อนงวงของตนวันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของ เด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดได้ใช้งวงช่วยเด็กผู้หญิงลงมา สัตว์อื่นๆ พากันชื่นชมอัลเฟรด ตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนเองจะไม่เหมือนใคร


แนวคิดสำคัญคือ
- แม้ว่าเด็กจะมีความแตกต่างจากคนอื่น เด็กๆก็สามารถอยู่อย่างมีความสุขได้
- การช่วยเหลือคนอื่นเป็นสิ่งที่เด็กควรปฏิบัติอยู่เสมอ
- เด็กรู้จักขอบคุณ เมื่อได้รับความช่วยเหลือ

กิจกรรมที่ครูสามารถสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมด้านภาษา

      อาจารย์พูดถึงการเล่านิทานให้เด็กฟัง เมื่อครูเล่าจบ แล้วบอกให้เด็กออกมาเล่าเรื่อง จะส่งเสริมความสามารถในการจับใจความจากการดูภาพและฟังเรื่องราง ฝึกให้เด็กรู้จักคาดคะเน ตีความ และจับใจความสำคัญของเรื่อง แล้วกลั่นกรองถ่ายทอดออกมาตามความเข้าใจของเด็ก โดยใช้การเล่าเรื่องเป็นการสื่อสาร ซึ่งเป็นการส่งเสริมการใช้ภาษาของเด็ก   เราจะต้องจัดกิจกรรมต่างๆให้เด็กเกิดการเรียนรู้ หรือประสบการณ์ซึ่งสามารถจัดได้ดังนี้คือ

    - ทำเกมการศึกษา - lotto,แกนด์,ภาพอนุกรม,เกมอุปมาอุปไมย- การเล่นเครื่องเล่น ก็จะเชื่อมโยงมาจากการฟังนิทาน เช่น การช่วยเพื่อนลงมาจากกระดานลื่

    - กิจกรรมเข้าจังหวะ ครูอาจจะให้เด็กเต้นประกอบเพลงช้าง

    - หรือจะพาไปทัศนศึกษา ไปดูช้างของจริงที่สวนสัตว์ก็ได้ 

***งานที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์นี้คือ   ให้นักศึกษาจับกลุ่มแล้วช่วยกันแต่งเพลง แล้วออกมาร้องเพลง และเต้นทำท่าประกอบเพลง และใหทำเนื้อเพลงใส่ power point มาด้วย พร้อมออกมานำเสนอในสัปดาห์หน้า   ใหนักศึกษา ออกไปจับฉลากเพื่อได้หัวข้อในการเล่านิทาน ซึ่งกลุ่มของดิฉันก็จับได้เกี่ยวกับการเล่านิทานด้วยเชือก